Last updated: 2 ก.พ. 2567 | 161 จำนวนผู้เข้าชม |
1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า : สำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าภายในบ้านนั้น โดยทั่วไป เครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าภายในบ้านจะใช้กำลังไฟสูงถึง 32 A ซึ่งหากมีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟหลายชนิดพร้อมกับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะทำให้กำลังไฟไม่เพียงพอ และมีโอกาสที่ทำให้ไฟตกได้ ดังนั้น ทางการไฟฟ้าจึงได้มีการแนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น Single-Phase 30(100) A หรือ 3-Phase 15(45) A เพื่อให้มิเตอร์มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป
2. เปลี่ยนสายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB) : สำหรับสาย Main ที่ใช้ขนาด 16 ตร.มม. จะต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต (MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่สามารถรองรับได้สูงสุด 100 A
3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) : ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีช่องว่างสำรองเหลือให้ติดตั้ง Circuit Breaker อย่างน้อย 1 ช่อง เนื่องจากการชาร์จไฟของยานยนต์ไฟฟ้านั้นจะต้องมีช่องส่วนตัว แยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่น ๆ หรือหากภายในตู้หลักไม่มีช่องว่าง ก็สามารถเพิ่มตู้ควบคุมย่อยได้
4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) : เป็นเครื่องตัดไฟอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ในอนาคตได้ ในกรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่ม ทั้งนี้ เครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่ดีควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อย RCD type A โดยมีระบบตรวจจับ DC leakage protection 6 mA (การป้องกันกระแสไฟตรงรั่วไหล
5. หัวชาร์จไฟฟ้า (EV Socket) : หัวชาร์จไฟฟ้า ตามการออกแบบของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละค่าย มักจะทำไม่เหมือนกัน
19 ม.ค. 2567